ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตลอดระยะเวลากว่า 127 ปี โอสถสภามุ่งมั่นใน
การดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการตอบแทนสังคม
ดังชื่อเดิมของโอสถสภา “เต๊กเฮงหยู” ซึ่งมี
ความหมายว่า “เจริญโดยการช่วยเหลือผู้อื่น”

โอสถสภามีนโยบายในการดำเนินธุรกิจบนหลักธรรมาภิบาล
และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริโภค คู่ค้าและพันธมิตรทาง
ธุรกิจ พนักงาน ผู้ถือหุ้นชุมชนและสังคม ภายใต้วิสัยทัศน์
พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต โดยโอสถสภามีแนวคิดในการ
ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยมุ่งเน้น 5 ด้าน

ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

โอสถสภาได้ให้การช่วยเหลือผู้พิการมาตั้งแต่ปี 2555
ผ่านโครงการ “โอสถสภา เพื่อชีวิตที่ดียิ่งกว่า” และต่อมา
ได้ริเริ่ม “โครงการส่งเสริมอาชีพคนพิการตามมาตรา 35”
ภายใต้แนวคิด “ให้เบ็ดดีกว่าให้ปลา” ที่มุ่งเน้นให้ผู้พิการ
มีความพร้อมและพัฒนาตนเองจนสามารถช่วยเหลือและ
เลี้ยงดูตัวเองได้ เพื่อให้ผู้พิการมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
สามารถพึ่งพาตนเองได้ สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ
ในการช่วยเหลือผู้พิการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยดำเนินการตั้งแต่ปี 2560
จนถึงปัจจุบัน ครอบคลุม 7 อำเภอในจังหวัดขอนแก่น
มีผู้พิการเข้าร่วมกว่า 60 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้พิการหรือ
ผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุบัติเหตุจนพิการ ไม่สามารถทำงาน
หาเลี้ยงครอบครัวได้เหมือนเดิม และล่าสุด โอสถสภาได้
รับโล่และเกียรติบัตรในฐานะภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุน
ผู้พิการและผู้สนับสนุนการจัดงานวันคนพิการสากล จังหวัด
ขอนแก่น ประจำปี 2561 พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติให้
ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้พิการ
เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนเข้ามาสนับสนุนผู้พิการ

ตามความถนัดของแต่ละหน่วยงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เพื่อร่วมสร้างอนาคตที่ดีขึ้นแก่ผู้พิการอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ โอสถสภาได้มีการดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้

1) การเสริมสร้างพลังกาย โดยร่วมกับเครือข่ายนักกายภาพ
บำบัดในพื้นที่เข้าฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพของผู้พิการ
2) การเสริมสร้างพลังใจ ให้คนพิการมีความหวังและมี
พลังเดินหน้าต่อ โดยการช่วยปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน
ให้มีความเหมาะสมกับคนพิการ เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วย
เหลือและพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด ผู้พิการจึงมีสภาพจิตใจ
ที่ดีขึ้นและมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้นจนสามารถเข้า
สังคมได้ดีขึ้น และ
3) การสร้างพลังชีวิต ด้วยการค้นหาและส่งเสริมอาชีพที่
เหมาะสม พร้อมให้ความรู้และจัดสรรอุปกรณ์และเคร่ืองมือ
ในการประกอบอาชีพ ทั้งยังช่วยออกแบบตราสินค้า บรรจุ
ภัณฑ์สินค้า จัดหาตลาด และสร้างช่องทางการจัดจำหน่าย
ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางอาชีพแก่ผู้พิการในโครงการฯ
มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความ
สุขมากขึ้น และมีความหวังและมีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตต่อไป

ด้านการกีฬา

กีฬา คือพลังที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี
อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจและช่วยการบ่มเพาะให้เยาวชน
และคนไทยให้หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี โอสถสภา
จึงได้สนับสนุนด้านการกีฬาทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ
และระดับนานาชาติ โอสถสภาร่วมพัฒนาวงการกีฬามา
อย่างต่อเนื่อง โดยให้การสนับสนุนสมาคมด้านการกีฬาหลาย
แห่งในประเทศไทย ในด้านงบประมาณและผลิตภัณฑ์ให้แก่
นักกีฬา ได้แก่ สมาคมกีฬามวยสากลแห่งประเทศไทย
สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย สมาคม
กีฬาตะกร้อแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาจักรยานแห่ง
ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาเทเบิลเทนนิส
แห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่ง
ประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
เพื่อส่งเสริมและพัฒนา
ศักยภาพ เตรียมความพร้อมนักกีฬาไทยในการเข้าร่วมการ
แข่งขันมหกรรมกีฬาต่างๆ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนนักกีฬา
ทั้งในระดับสมัครเล่นและอาชีพ ยกระดับความสามารถ
เพื่อเข้าร่วมรายการแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ
และระดับสากล อีกทั้งยังเป็นขวัญและกำลังใจแก่ทีมนักกีฬา
ในการสร้างผลงานที่ประทับใจให้ประเทศไทยต่อไป

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

มูลนิธิโอสถสภา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 ด้วยปณิธานและ ความมุ่งมั่นของคุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ อดีตประธาน
กรรมการบริหารที่ต้องการคืนประโยชน์สู่สังคม โดยมุ่งเน้น การสนับสนุนกิจกรรมทางด้านสาธารณสุข อาทิ การ
สนับสนุนโครงการฟันเทียมพระราชทาน มอบฟันเทียมให้แก่ผู้สูงอายุร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนี้ ยังได้มอบเงินบริจาคจำนวน 3,810,000 บาท
ให้แก่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อมอบ
แสงสว่างแก่ดวงตาในการผ่าตัดต้อกระจกให้แก่ผู้ยากไร้
และผู้ขาดแคลนจำนวน 127 ดวงตา พร้อมกันนี้ได้สนับสนุน
งบประมาณสร้างห้องฟอกไตขนาดมาตรฐาน จำนวน 1
ห้อง เนื่องในโอกาสท่ีโอสถสภาเข้าทำการซื้อ-ขายในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก

ด้านการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์กรณีเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ

โอสถสภาบริจาคเงินและผลิตภัณฑ์ในการช่วยฟื้นฟูจาก
เหตุภัยพิบัติ เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยสึนามิ แผ่นดินไหว ให้กับ
ผู้ประสบภัยทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน

ด้านการศึกษา

มูลนิธิโอสถสภาได้มอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์
เภสัชกร และพยาบาล
อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 30 ปี
ปัจจุบันได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาแพทย์ เภสัชกร
และพยาบาลไปแล้วกว่า 300 ทุน โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ
ทั้งสิ้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างและส่งเสริมให้มีบุคลากรทางการ
แพทย์ที่มีคุณภาพในต่างจังหวัดและกลับมาทำประโยชน์
สู่บ้านเกิด

การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โอสถสภาให้ความสำคัญกับการดูแลและลดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดมาตรการป้องกัน ดูแล และ
แก้ไขปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมา
จากการดำเนินงานของบริษัทฯ ภายใต้การดูแลของคณะ
ทำงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและส่ิงแวดล้อม
พร้อมบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
ภายใต้หลัก 3Rs ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse)
การนำกลับมาใช้ (Recycle) ในการบริหารจัดการธุรกิจ

REDUCE
ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงโดยนำความร้อนสูญเสียจาก
โรงงานผลิตขวดแก้วมาผลิตไอน้ำสำหรับส่งกลับไปใช้
ในกระบวนการล้างขวดแก้วของโรงงานบรรจุเครื่องดื่ม
(Waste Heat Boiler) ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันเพื่อ
ผลิตพลังงานได้ถึงปีละกว่า 1.4 ล้านลิตร

REUSE
มีการบริหารจัดการระบบน้ำเสียในโรงงานอย่างเป็น
ระบบ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรง
และทางอ้อม โดยจัดพื้นที่บำบัดน้ำเสียซึ่งมีหน่วยงาน
เฉพาะในการกำกับดูแลและจัดการบำบัดน้ำเสียจากภายใน
ก่อนระบายน้ำเสียออกสู่ภายนอกโรงงานตามมาตรฐาน
ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และนำมาใช้ในการรดน้ำ
ต้นไม้บริเวณพื้นที่โรงงาน

RECYCLE
มีเทคโนโลยีการผลิตขวดแก้วที่สามารถใช้เศษแก้วเป็น
วัตถุดิบหลักได้สูงถึงร้อยละ 90 ทำให้สามารถลดการใช้
ทรายในการผลิต และใช้วัตถุดิบอื่น เช่น โซดาแอซ เพื่อ
ลดอุณหภูมิในการหลอมให้ต่ำลงและประหยัดพลังงาน
ใช้พลังงานความร้อนจากก๊าซธรรมชาติในการหลอมแก้ว
และเทคโนโลยีเตาหลอมจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศ
เยอรมนี ซึ่งมีระบบประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพ

โอสถสภามุ่งม่ันเป็นองค์กรท่ีดำเนินธุรกิจควบคู่กับการ
ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเรา
เชื่อว่าธุรกิจที่ดีต้องไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ชุมชนและสังคม