โอสถสภากับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โอสถสภาเชื่อว่าการยึดมั่นบนหลักความยั่งยืนที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
สร้างสรรค์โอกาสทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม และบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร
จะเป็นรากฐานแห่งการเติบโตอย่างมั่นคง พร้อมตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยมีพนักงานทุกคนเป็นพลังในการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน

กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

วิสัยทัศน์ความยั่งยืนของโอสถสภา

“พลังเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน”

หมายถึงความมุ่งมั่นของโอสถสภาในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
แบ่งปันโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน
องค์กรที่ยั่งยืน

ยกระดับคุณภาพชีวิต

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเป็นทางเลือกต่อสุขภาพที่ดีขึ้น

  • ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก วัตถุดิบคุณภาพสูง / วัตถุดิบจากธรรมชาติ
  • สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ยกระดับคุณภาพชีวิต สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้บริโภคทุกกลุ่ม
  • สร้างเสริมพลังเพื่อเอาชนะอุปสรรค

พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ

แบ่งปันโอกาสทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

ยึดมั่นต่อความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า พัฒนาสินค้าให้หลากหลาย ตอบสนองต่อความต้องการ ของผู้บริโภค สร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจจากสินค้า และบริการ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าด้วยนวัตกรรม พัฒนา ศักยภาพคู่ค้าที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยตลอดห่วงโซ่ อุปทาน ขับเคลื่อนการเติบโตพร้อมกับบริษัท 

  • ส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกสมุนไพร
  • พัฒนาคู่ค้าสอดคล้องต่อจรรยาบรรณทางธุรกิจและ เกณฑ์ความยั่งยืน (ESG) ของบริษัท 

สร้างเครือข่ายและระบบนิเวศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและ องค์ความรู้ เพื่อพัฒนาร้านค้าย่อยให้สามารถแข่งขันได้

บรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ยึดถือหลักการ 3Rs’: Reduce, Reuse, Recycle
ในการดําเนินธุรกิจ 

  • ลดการใช้น้ำ พลังงาน และการก่อให้เกิดของเสียต่อ หน่วยการผลิต
  • ควบคุมมลพิษทางอากาศจากกระบวนการผลิตอย่าง เข้มงวด และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิต ทั้งทางตรงและทางอ้อม (Scope 1 & Scope 2) 
  • เพิ่มอัตราการนําเศษแก้วกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตขวดแก้ว 

ลดผลกระทบจากขยะบรรจุภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมที่ส่งเสริม ให้เกิดบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

สร้างจิตสำนึกสู่ความยั่งยืน ให้แก่พนักงานทุกคน
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส 
  • สร้างสรรค์สถานที่ทำงานที่ดียิ่งขึ้น มุ่งสู่การเป็นองค์กรในฝัน
  • ส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืน จากบุคลากรสู่สังคม

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

โอสถสภาจําแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียไว้จำนวน 6 กลุ่ม และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียตามความคาดหวัง
ในช่องทางการมีส่วนร่วมต่างๆ กัน ตามความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุด

ผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ถือหุ้น
การตอบสนองของบริษัท
  • กำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการองค์กรด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
  • รักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้น
  • ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม
  • สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสุดความสามารถ โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัท
  • เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและเชื่อถือได้
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • เว็บไซต์บริษัท (https://www.osotspa.com) ส่วน “นักลงทุนสัมพันธ์
  • รายงานประจำปี (เว็บไซต์) 
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • รายงานงบการเงินรายไตรมาส
ผู้มีส่วนได้เสีย
ลูกค้า
การตอบสนองของบริษัท
  • ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพพร้อมยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • เปิดเผยข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนด ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับของลูกค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือกฎหมายมีใด้บังคับไว้
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • เว็บไซต์บริษัท (https://www.osotspa.com) 
  • รายงานประจำปี (เว็บไซต์) 
  • พบปะ ประชุม สํารวจ และเยี่ยมชมโรงงาน
  • สํารวจความคิดเห็นประจำปี 
  • ช่องทางการร้องเรียนของบริษัท
ผู้มีส่วนได้เสีย
คู่ค้าและเจ้าหนี้
การตอบสนองของบริษัท
  • การดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าใดๆ ต้องไม่นํามาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียง ของกลุ่มบริษัท หรือขัดต่อฎหมายใดๆ 
  • คำนึงถึงความเสมอภาคในการดำเนินธุรกิจและผลประโยชน์ร่วมกันกับคู่ค้า
  • การคัดเลือกคู่ค้าต้องทำอย่างยุติธรรม 
  • ยึดมั่นในสัญญาและถือปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้เป็นสำคัญ ในการชําระคืนเงินต้น ดอกเบี้ย และการดูแลหลักประกันต่างๆ
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • เว็บไซต์บริษัท (https://www.osotspa.com) 
  • รายงานประจำปี (เว็บไซต์) 
  • พบปะ ประชุม สํารวจ และเยี่ยมชมโรงงาน
  • การตรวจประเมินประจำปี 
  • โทรศัพท์ อีเมล
  • ช่องทางการร้องเรียนของบริษัท
ผู้มีส่วนได้เสีย
สังคม ชุมชน
และสิ่งแวดล้อม
การตอบสนองของบริษัท
  • จัดโครงการและกิจกรรมในการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
  • สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และไม่กระทำการใดๆ ที่ขัดหรือผิดกฎหมาย 
  • สนับสนุนกิจกรรมของท้องถิ่นที่กลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
  • มีนโยบายผลิตสินค้าและให้บริการใดๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติ ตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม 
  • ส่งเสริมกิจกรรมการดูแลรักษาธรรมชาติและอนุรักษ์พลังงาน และมีนโยบาย ที่จะคัดเลือกและส่งเสริมการผลิต และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • เว็บไซต์บริษัท (https://www.osotspa.com) 
  • รายงานประจำปี (เว็บไซต์) 
  • พบปะ ประชุม สํารวจ และเยี่ยมชมโรงงาน
  • การตรวจประเมินประจำปี 
  • โทรศัพท์ อีเมล
  • ช่องทางการร้องเรียนของบริษัท
ผู้มีส่วนได้เสีย
พนักงาน
การตอบสนองของบริษัท
  • พัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเสริมสร้างวัฒนธรรมและ บรรยากาศการทำงานที่ดี
  • ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพ และให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชน
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • เว็บไซต์บริษัท (https://www.osotspa.com) 
  • Town Hall ทุกไตรมาส
  • Intranet, OSP Life Mobile Application
  • การประเมินผลงานประจำปี (ปีละ 2 ครั้ง)
  • EES Pulse Survey และการสำรวจความพึงพอใจพนักงานประจำปี
  • การประชุมคณะกรรมการสวัสติการในสถานประกอบการ
ผู้มีส่วนได้เสีย
คู่แข่งทางการค้า
การตอบสนองของบริษัท
  • ประพฤติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดีและกฎหมายที่กำหนดไว้ และหลีกเลี่ยงวิธีการไม่สุจริตเพื่อทำลายคู่แข่ง 
  • มีนโยบายในการแข่งขันทางการค้าโดยไม่ใช้วิธีการใดๆ ให้ใด้มาซึ่งข้อมูล ของคู่แข่งขันอย่างผิดกฎหมายและขัดต่อจริยธรรม
ช่องทางการมีส่วนร่วม
  • เว็บไซต์บริษัท (https://www.osotspa.com) 
  • รายงานประจำปี (เว็บไซต์) 

“ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน”

บริษัทจัดให้มีการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อระบุประเด็นสำคัญต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย
ครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรบุคคล เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ได้ระบุไว้
โดยประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนได้ผ่านการทวนสอบประเด็นสำคัญจากคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน
และบรรษัทภิบาล (NRC) และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริษัท

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทมีทั้งสิ้น 12 ประเด็น และถูกจัดลำดับความสำคัญ (3 ระดับ) ของแต่ละประเด็นไว้ดังนี้

นโยบายและข้อมูลต่างๆ

จรรยาบรรณทางธุรกิจ
Code of Conduct อ่านรายละเอียด >>